โปรไบโอติก กินตอนไหนถึงจะดีได้ประสิทธิภาพสูงสุด

การกินโพรไบโอติกส์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบการทำงานต่างๆ ดีมากยิ่งขึ้น ที่จะช่วยทำให้สุขภาพดีและยังสามารถชะลอวัยได้ เลยมีใครหลายคนเลือกทาน โปรไบโอติก เป็นประจำอยู่บ่อยๆ แต่หลายคนอาจจะไม่มั่นใจว่า โปรไบโอติก กินตอนไหน ถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด และแน่นอนว่าเราสามารถสำรวจได้ว่าในร่างกายเรานั้นมี โปรไบโอติกอยู่เท่าไหร่ ว่าแต่จะเช็คได้อย่างไรนั้นตามไปอ่านพร้อมๆ กันเลย

ทำความรู้จักกับโปรไบโอติกคืออะไร

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักก่อนว่า โปรไบโอติก นับว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพวกเรา ที่จะช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร หรือพูดง่ายๆ คือ จุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยดูดซึมอาหารและนำสารอาหารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นการกินโพรไบโอติกส์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนเราต้องหมั่นทานเป็นประจำทุกวัน

โปรไบโอติกกินตอนไหนและควรกินอย่างไร

โปรไบโอติก กินตอนไหน ถึงจะดีแนะนำว่าให้กินก่อนที่จะทานอาหาร หรือก่อนที่ระบบน้ำย่อยภายในร่างกายกำลังจะทำงาน  ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้โปรไบโอติกถูกทำลายได้ และจะไม่เห็นผลนั่นเอง ในส่วนของปริมาณที่แนะนำนั้น 1-2 หมื่นล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU ซึ่งจัดว่าเป็นหน่วยในการวัดโปรไบโอติกที่เราสามารถหาจากผลิตภัณฑ์อ่านตรงฉลากได้ อย่างเช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ดาร์กช็อกโกแลต ชีสบางชนิดและอื่นๆ อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการทานเราก็ต้องรู้ด้วยว่าร่างกายควรจะรับโปรไบโอติกชนิดไหน เพราะถ้าทานผิดชนิด อาจทำให้ไม่เห็นผลลัพธ์ได้

โปรไบโอติกที่สำคัญต่อร่างกายมีอะไรบ้าง

1. Bifidobacterium bifidum

สำหรับบิฟิโดแบคทีเรียม จะเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยในเรื่องของการผลิตสารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายที่จะสามารถจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญยังสามารถช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. Lactobacillus gasseri

แลคโตบาซิลลัส แกสเซอรี นับว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์แก่ร่างกายในหลายๆ ระบบเป็นอย่างมาก ที่จะช่วยทำให้ระบบลำไส้ ระบบทางเดินปัสสาวะให้ทำงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ก็ยังเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อีกด้วย

3. Lactobacillus plantarum

แลคโตบาซิลลัส แพลนทารัม อีกหนึ่งจุลินทรีย์ที่สามารถให้ประโยชน์มากมายมหาศาล เพราะจะเน้นไปในเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นหลัก แต่ยังช่วยต่อกรกับเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ให้ถูกกำจัดออกจากร่างกายให้อีกด้วย และ สามารถช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้เป็นไปตามปกตินั่นเอง

4. Lactobacillus rhamnosus

แลคโตบาซิลลัส แรมโนซัส จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ดีเยี่ยม เพราะจะอยู่แยกกับลำไส้ เมื่อเวลาโดนน้ำย่อยก็เลยไม่สูญสลาย โดยประโยชน์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันผิวเยื้อบุที่จะส่งเสริมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

5. Streptococcus thermophilus

สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีการสร้างแล็กเทส เอนไซม์นี้จะเข้าไปทำการย่อยน้ำตาลชนิดแลคโตส ซึ่งต้องบอกก่อนว่าน้ำตาลมีหลายชนิด และชนิดแลคโตที่พบในเครื่องดื่มประเภทนม ซึ่งบางคนไม่สามารถย่อยได้ จึงทำเป็นต้องทานโปรไบโอติกชนิดนี้เข้าไปด้วย

สรุปแล้วการกิน โปรไบโอติก กินตอนไหนดี ควรกินก่อนทานอาหาร หรือก่อนที่น้ำย่อยในร่างกายจะทำงาน และที่สำคัญควรเลือกทานโปรไบโอติกให้ถูกชนิด และวิธีที่เราจะสามารถหาได้ว่าควรทานชนิดไหน ในร่างกายขาดชนิดไหนไปบ้าง สามารถเช็คได้จาก DNA Test ของ Welala ที่จะทำการประมวลผลว่าขาดชนิดไหน และจำเป็นจะต้องทานอาหารชนิดใดเพื่อเพิ่มโปรไบโอติกเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้

โพสต์ล่าสุด