“มะเร็งปากมดลูก” ภัยมรณะใกล้ตัวคุณ และคนที่คุณรัก!
- By - Pla Aphatsanan
- Posted on
- Posted in HPV
มะเร็งอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย
จากสถิติปี 2020 พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย โดยเฉลี่ยในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า 9,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 5,000 ราย หรือในแต่ละวัน ประเทศไทยจะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง 13 คน!
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ HPV
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกือบ 100% นั้นเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus

และมากกว่า 85% ของประชากร เคยติดเชื้อ HPV อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต!
จากสถิติพบว่า ในแต่ละปี จะมีประชากรทั่วโลกติดเชื้อ HPV มากกว่า 660,000,000 คน หรือเท่ากับว่า ในทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีคนถึง 75,000 คนทั่วโลกติดเชื้อ HPV
ไม่ว่าใครก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV เพราะ
เชื้อนี้แพร่ผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง, การจูบ, การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก รวมถึงทางปาก อีกทั้งยังสามารถแพร่ผ่านทางการใช้สิ่งของ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ร่วมกันได้
ซึ่งถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องมีคู่นอนหลายคนถึงจะติดเชื้อ HPV แต่คุณสามารถติดเชื้อติดเชื้อ HPV ได้ตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก!

HPV ทำให้เกิดโรค และมะเร็งได้ ทั้งหญิงและชาย
เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธ์ุ โดยเชื้อ HPV สายพันธ์ุที่ก่อโรคแบ่งได้เป็น
- สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ (Low-risk HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งก่อให้เกิดหูด
- สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง (High-risk HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่จะทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อ สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้สูง
เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของโรค และมะเร็งต่างๆ ดังนี้
90%
ของหูดหงอนไก่ หรือหูดบริเวณอวัยวะเพศ
70%
ของมะเร็งศีรษะและลำคอ
90%
ของมะเร็งทวารหนัก
70%
ของมะเร็งปากช่องคลอด
75%
ของมะเร็งช่องคลอด
60%
ของมะเร็งองคชาต
มะเร็งปากมดลูกมักไม่มีอาการ
หลังได้รับเชื้อ HPV เชื้อสามารถอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อโรคใดๆ ได้นานถึง 10-30 ปี และมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ และมีตกขาวผิดปกติได้
ในระยะหลัง อาจมีอาการที่เกิดจากการกดเบียดของก้อนมะเร็งเช่น ปวดท้องน้อย ขาบวม เป็นต้น

เราจะป้องกันการติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร?
การป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรค และมะเร็งจากเชื้อ HPV ได้สูงถึง 90-97% (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน) โดยสามารถฉีดได้ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ 3 วิธีคือ
*การศึกษา ATHENA ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการตรวจ Pap และ HPV DNA test ในสตรีมากกว่า 47,000 ราย พบว่าวิธีดังกล่าวมีความไวในการตรวจหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็งสูงกว่า
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการตรวจหาเชื้อ HPV (HPV DNA test) เป็นวิธีตรวจคัดกรองหลักในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีทั่วไป และสตรีที่ติดเชื้อ HIV และสมาคมโรคมะเร็งอเมริกันยังแนะนำการตรวจหาเชื้อ HPV (HPV DNA test) เป็นวิธีหลักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุระหว่าง 25-65 ปีด้วย

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีขั้นตอนอย่างไร?
โดยปกติ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ในสถานพยาบาล คลินิก หรือโรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่มักทำระหว่างการตรวจภายใน
ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียง และแยกขาออก จากนั้นแพทย์จะสอดเครื่องมือที่เรียกว่า speculum เข้าไปในช่องคลอด เพื่อใช้ถ่างขยายบริเวณส่วนบนของช่องคลอด และหาปากมดลูก ซึ่งช่วยให้แพทย์เก็บตัวอย่างเซลล์ และบริเวณโดยรอบปากมดลูกได้
ซึ่งหากตรวจโดยวิธี Pap test (Pap smear) จะต้องตรวจซ้ำทุกๆ 2 ปี แต่หากตรวจด้วยวิธี HPV DNA test ที่มีความไวสูงกว่า จะสามารถตรวจซ้ำแค่ทุกๆ 5 ปี

กลุ่มเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ต้องระวังเป็นพิเศษ!
- ผู้ที่ไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน HPV
- ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอเช่น ผู้ติดเชื้อ HIV
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ที่มีบุตรหลายคน
- ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยง คุณควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจตรวจถี่ขึ้น เพื่อหาเชื้อ HPV ก่อนที่จะเซลล์ของคุณจะกลายเป็นมะเร็ง

ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้! ด้วยการตรวจหาเชื้อ HPV ด้วยตนเอง
ในปี 2021 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับป้องกันมะเร็งปากมดลูกใหม่ ซึ่งแนะนำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ที่สามารถเก็บโดยผู้ให้บริการทางการแพทย์หรือตัวเองก็ได้
งานวิจัยบางฉบับพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองนั้น มีความแม่นยำในการหาเชื้อ HPV (HPV DNA) เท่ากับการเก็บตัวอย่างโดยแพทย์จากการตรวจภายใน

การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV
ปัจจุบันนี้ ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกัน HPV 2 ชนิดคือ ชนิด 4 และ 9 สายพันธุ์ ซึ่งป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อโรคได้ครอบคลุมตามชื่อ
โดยพบว่าวัคซีนป้องกัน HPV ชนิดล่าสุด 9 สายพันธุ์นั้น สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV รวมถึงมะเร็งที่เกี่ยวข้องได้ถึง 97%
- International Agency for Research on Cancer (World Health Organization) [Internet]. Thailand fact sheets (Globocan2020). [updated 2022 Mar 28; cited 2022 May 28]. Available from: https://gco.iarc.fr/today/data/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheets.pdf
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Human papillomavirus. In: Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S, eds. Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases. 13th ed. Washington DC: Public Health Foundation; 2015:175–186.
- Centers of Disease control and Prevention (CDC) [Internet]. Genital HPV infection – Basic fact sheet. [updated 2022 Apr 12; cited 2022 Jun 20]. Available from https://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv.htm
- Matthews KJ, Carter JS. Cervical cancer [Internet]. Medscape; 2022 [cited 2022 May 28]. Available from https://emedicine.medscape.com/article/253513-overview
- Wright TC, Stoler MH, Behrens CM, Sharma A, Zhang G, Wright TL. Primary cervical cancer screening with human papillomavirus: end of study results from the ATHENA study using HPV as the first-line screening test. Gynecol Oncol. 2015;136(2):189-97.
- World Health Organization (WHO). WHO guideline for screening and treatment of cervical pre-cancer lesions for cervical cancer prevention, second edition. Geneva: World Health Organization; 2021.
- National Cancer Institute [Internet]. HPV and cancer. [updated 2021 Oct 25; cited 2022 May 28]. Available from https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/infectious-agents/hpv-and-cancer
- American Cancer Society [Internet]. HPV and HPV testing. [updated 2020 Jul 30; cited 2022 Jun 28]. Available from https://www.cancer.org/healthy/cancer-causes/infectious-agents/hpv/hpv-and-hpv-testing.html
- Royal Thai College of Obstetricians and Gynecologists. RTCOG Clinical practice guideline cervical cancer screening. Clinical practice guidelines. 2021;3:289-299
- Polman NJ, Ebisch RMF, Heideman DAM, Melchers WJG, Bekkers RLM, Molijn AC, et al. Performance of human papillomavirus testing on self-collected versus clinician-collected samples for the detection of cervical intraepithelial neoplasia of grade 2 or worse: a randomised, paired screen-positive, non-inferiority trial. Lancet Oncology. 2019 Feb;20(2):229-238.
- Centers of Disease control and Prevention (CDC) [Internet]. Reasons to get HPV vaccine. [updated 2021 Nov 10; cited 2022 Jun 20]. Available from https://www.cdc.gov/hpv/parents/vaccine/six-reasons.html
- Huh WK, Joura EA, Giuliano AR, Iversen OE, de Andrade RP, Ault KA, et al. Final efficacy, immunogenicity, and safety analyses of a nine-valent human papillomavirus vaccine in women aged 16-26 years: a randomized, double-blind trial. Lancet. 2017;390(10108):2143-59.