โรคมะเร็ง คือหนึ่งในโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยต่อปีเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกคน จากความผิดปกติของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมบางแห่งก็มีความเสี่ยงที่จะพบสารก่อมะเร็งได้ด้วยเช่นกัน โดยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะตามส่วนต่างๆ เช่น หลอดเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบประสาท เป็นต้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่ามะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ วันนี้ WELALA จะมาอธิบายให้ฟังว่ามะเร็งพันธุกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะสามารถรับมือกับภัยร้ายประเภทนี้ได้อย่างไร
มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้จากคนประเภทใดบ้าง
ในปัจจุบันโรคมะเร็งสามารถพบได้จากกลุ่มคน 2 ประเภทด้วยกันคือ กลุ่มที่เกิดมะเร็งจากโรคเฉพาะตัว (Sporadic Case) ตัวอย่างเช่น มะเร็งปอด, มะเร็งสมอง, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น และอีกกลุ่มคือผู้ที่พบมะเร็งจากพันธุกรรม (Family of Cancer Syndrome) ซึ่งแฝงมาจากคนในครอบครัวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บางตัวในร่างกาย
ปัจจัยที่ทำให้เซลล์มะเร็งพันธุกรรมเติบโตได้
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ แต่ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้อย่างแน่ชัดว่าอะไรที่ทำให้เซลล์มะเร็งสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ก็สามารถคาดการณ์ได้จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่อาจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ยีนที่คอยทำหน้าที่ป้องกันเซลล์มะเร็งเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นจนไม่สามารถต้านทานได้ เช่น
-
- รับยีนที่มีเซลล์มะเร็งจากคนในครอบครัว เป็นปัจจัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ยาก
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การทำงานของร่างกายเสื่อมสภาพลง
- การสูบบหรี่ เพราะมีสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ มีผลทำให้เกิดมะเร็งหลากหลายชนิด
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
- การสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น Asbestos, Cadmium, Nickel, Benzidine, Benzene เป็นต้น
- การสัมผัสกับรังสีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น รังสีเอกซ์เรย์ รังสีที่มาจากสารกัมมันตภาพ
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย มีผลทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต
โรคมะเร็งพันธุกรรมที่สามารถพบได้บ่อยๆ
โรคมะเร็งพันธุกรรม (Family of Cancer Syndrome) ที่สามารถพบได้บ่อยๆ ในปัจจุบัน ส่วนมากจะเป็นโรคมะเร็งในกลุ่มสตรี เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เป็นต้น ถัดมาก็จะเป็นโรคมะเร็งในเด็ก ในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการได้ในวัยผู้ใหญ่ และสุดท้ายจะเป็นกลุ่มโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นมะเร็งที่ได้รับการรายงานว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก
วิธีตรวจมะเร็งพันธุกรรมด้วยการค้นหาจากยีนและ DNA
การตรวจหามะเร็งพันธุกรรมนั้นสามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์จากยีนหรือ DNAภายในร่างกาย โดยจะเน้นไปที่รหัสพันธุกรรมจากยีนมากกว่า 60 ตัวอย่าง ที่อาจมีความสัมพันธ์กับเซลล์มะเร็งที่แฝงอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งการตรวจหาเซลล์มะเร็งร้ายผ่านวิธีนี้ สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมดังต่อไปนี้ได้
- มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่
- มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งในตับ ตับอ่อน และไต
- มะเร็งผิวหนัง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งโพรงมดลูก
- มะเร็งไทรอยด์
สำหรับโรคมะเร็งพันธุกรรมนั้นถือเป็นภัยร้ายสำหรับทุกคนที่บางครั้งอาจไม่เคยมีสัญญาณเตือนใดๆ มาก่อน เพราะบางคนอาจมองตัวเองสุขภาพดี ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยมีประวัติโรคร้ายแรงใดๆ มาก่อน แต่ถ้าหากคนในครอบครัวที่มียีนใกล้ชิดอย่าง พ่อ-แม่ ปู่-ย่า และตา-ยาย เคยมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งละก็ การตรวจหาความเสี่ยงด้วยยีนหรือ DNA คือทางเลือกที่ดี เพื่อให้คุณวางแผนดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากการความเสี่ยงของโรคมะเร็ง