การเตรียมตัวก่อนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผู้หญิงควรรู้

โรคมะเร็งปากมดลูก หรือ Cervical cancer เป็นมะเร็งชนิดที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม โดยมะเร็งปากมดลูกนั้นเกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูกที่อยู่ในบริเวณช่วงล่างของมดลูกที่มีจุดเชื่อมต่อกับช่องทางคลอด ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดที่สามารถพบได้บ่อยเป็นลำดับที่สอง รองลงมาจากมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงให้คนไทยสามารถห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากยิ่งขึ้น

วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตามที่ได้มีการกล่าวไปในข้างต้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ สำหรับผู้หญิงทุกคนที่กำลังสนใจอยากที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถที่จะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตรวจได้ดังนี้

1. ตรวจภายในได้ทุกช่วงเวลา ยกเว้นช่วงที่มีประจำเดือน

หากต้องการที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถเข้ารับการตรวจได้ในทุกช่วงเวลายกเว้นช่วงที่มีประจำเดือน หากอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือนแนะนำให้รอหลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว 5 วัน แต่ในกรณีที่มีเลือดออกมามากกว่าปกติ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ได้โดยตรง

2. ทานอาหารและน้ำได้ปกติ

ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถที่จะรับประทานอาหารและน้ำได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรืองดน้ำแต่อย่างใด เนื่องจากการตรวจคัดกรองมะเร็งนั้นแตกต่างไปจากการตรวจร่างกาย ต่อให้จะรับประทานอาหารหรือน้ำในช่วงเวลาใดก็ไม่มีผลต่อการตรวจ 100%

3. งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนตรวจ 24-48 ชั่วโมง

การเตรียมตัวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนที่จะทำการตรวจภายใน หรือก่อนที่จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์อาจส่งผลกระทบต่อการตรวจภายในได้

4. ปัสสาวะออกให้หมดก่อนรับการตรวจภายใน

ก่อนเข้ารับการตรวจภายในหรือก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยควรทำการปัสสาวะออกให้หมดเสียก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากแพทย์ที่ทำการวินิจฉัยจะสามารถทำการตรวจขนาดของมดลูกรวมไปถึงปีกมดลูกได้ง่ายและชัดเจน

5. ห้ามสวนล้างช่องคลอด ก่อนการตรวจ

ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจภายในหรือการที่จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ไม่ควรทำการสวนล้างช่องคลอดและควรงดการใช้ยาเหน็บทางช่องคลอด ก่อนการตรวจภายในหรือก่อนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2 วัน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มี 3 แบบ

เมื่อทราบถึงขั้นตอนการเตรียมตัวในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรอง คือ วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยในปัจจุบันวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ดังต่อไปนี้

1. Pap smear ตรวจแปปเสมียร์ (ตรวจแปปเสมียร์)

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Pap smear ตรวจแปปเสมียร์ (ตรวจแปปเสมียร์) เป็นวิธีการตรวจที่สูตินรีแพทย์จะทำการตรวจโดยการใช้เครื่องมือที่ลักษณะคล้ายไม้พาย โดยจะใช้เก็บเนื้อเยื่อที่บริเวณปากมดลูกนำเอาไปส่งตรวจเพื่อทำการหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็ง

2. Thin prep (ตินเพร็พ)

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Thin prep (ตินเพร็พ) เป็นวิธีการตรวจที่พัฒนามาจากการตรวจแปปเสมียร์ โดยวิธีนี้สูตินรีแพทย์จะทำการเก็บเซลล์เยื่อบุผิวที่บริเวณปากมดลูกด้วยแปรงขนาดเล็ก และจะเก็บรักษาสภาพเซลล์ไว้ในน้ำยาก่อนจะนำเข้าเครื่องตรวจอัตโนมัติ เป็นวิธีที่ให้ผลแม่นยำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. Thin prep plus HPV DNA

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีสุดท้าย คือ การตรวจ Thin prep plus HPV DNA จะเป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจ DNA ของเชื้อ HPV เป็นวิธีการตรวจที่สามารถจะทำการเจาะลึกหาการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 เป็นวิธีการตรวจที่จะช่วยหารอยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปจบบทความ

เพราะมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดที่สามารถพบได้ง่ายมากที่สุดมีโอกาสในการเกิดโรคสูง ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะสามารถป้องกันรวมไปถึงช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถปฏิบัติตามวิธีการเตรียมตัว และเข้ารับการตรวจคัดกรองได้เลยทันที หรือสามารถตรวจด้วยตัวเองง่าย ๆ ที่บ้านด้วยชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก welala สะดวก รวดเร็ว แม่นยำเทียบเท่าการตรวจที่โรงพยาบาล

ห่างไกลโรคร้ายด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูก

หากจะพูดถึงภัยร้ายใกล้ตัวผู้หญิง คงหนีไม่พ้น มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่มีสถิติผู้เสียชีวิตในประเทศไทยประมาณ 4,500 รายต่อปี และมีผู้ป่วยรายใหม่กว่า 9,000 รายต่อปี ดังนั้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงไปสิ่งสำคัญที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

การตรวจมะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี?

หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าควรตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบไหนดี ? นอกจากตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV DNA กับ Pap smear มีวิธีไหนอีกบ้าง ? เราจะพาไปทำความรู้จักวิธีตรวจ 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

1. ตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ Pap Smear

เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เพื่อนำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามเป็นวิธีที่ความแม่นยำไม่สูง อยู่ที่ประมาณ 50%

2. ตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ ThinPrep

เป็นวิธีที่พัฒนามาจาก Pap Smear โดยคุณหมอจะเก็บเซลล์เยื่อบุผิวบริเวณปากมดลูก จากนั้นใส่ลงในน้ำยา ThinPrep Pap Test ก่อนส่งตรวจผลในห้องปฏิบัติการ โดยน้ำยาจะช่วยกำจัดมูกและเลือด ทำให้เห็นตัวอย่างเซลล์ชัดเจนขึ้น วิธีนี้จึงมีประสิทธิภาพและแม่นยำประมาณ 90-95%

3. HPV DNA Test

HPV DNA Test หรือการตรวจ HPV DNA คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถตรวจเชื้อ HPV ระดับ DNA และระบุสายพันธ์ุต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก สำหรับวิธีการตรวจ HPV DNA Test เหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกใส่น้ำยา และส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะในระยะเริ่มต้นมะเร็งปากมดลูกจะไม่มีอาการที่แสดงได้ชัดเจน การตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาที่ได้ผลและหายขาดได้

การตรวจ HPV DNA Test ดีกว่าวิธีอื่นอย่างไร?

การตรวจ HPV DNA Test ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นว่าในร่างกายของเรามีเชื้อ HPV หรือไม่และระบุลงลึกไปได้ถึงสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ 16 และ 18 ทำให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อเอชพีวีได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกวิธีอื่น ๆ

เชื้อ HPV ติดได้จากที่ไหนบ้าง?

ส่วนใหญ่ติดเชื้อ HPV ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเป็นสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็งหรือไม่ก็ได้

ควรตรวจ HPV Test ตอนอายุเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน?

ผู้หญิงควรเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี ขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังมีเพศสัมพันธ์ และตรวจซ้ำทุก ๆ 2-3 ปี เป็นอย่างน้อยเพื่อที่จะตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตามความถี่ในการตรวจก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน หากอยู่ในบริเวณที่มีผู้เป็นมะเร็งปากมดลูกสูง หรือพบว่าตนเองมีความเสี่ยงสูง อาจต้องตรวจซ้ำทุกปี

ตรวจเองก่อนใคร ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก

มาถึงตรงนี้ เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนคงเริ่มตระหนักเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นโรคที่ใกล้ตัวผู้หญิงเป็นอย่างมาก ดังนั้นไม่ควรละเลยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถไปตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล แต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือรู้สึกเขินอายคุณหมอ วีลาล่าขอแนะนำชุดตรวจ HPV DNA Test วิธีตรวจง่ายสุด ๆ โดยคุณสามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง ไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาล ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง สามารถเก็บเซลล์ง่าย ๆ ที่บ้าน ตรวจก่อน ป้องกันก่อน ก่อนที่คุณจะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อรายต่อไปแบบไม่รู้ตัว

ทำความรู้จักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วจะต้องรีบเข้ารับการรักษา เพราะไม่อย่างนั้นก็อาจนำไปแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หรือทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ แล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง? เกิดจากสาเหตุใด? จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น? WELALA จะพาคุณไปหาคำตอบเองที่บทความนี้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual-Transmitted diseases) คือ โรคติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้มีเชื้อและผู้รับเชื้อ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ปาก หรือทวารหนัก ปัญหาของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากการติดโรค รวมทั้งการเพิกเฉยและอายที่จะเข้ารับการรักษา ทำให้โรคลุกลามเกินกว่าจะรักษาให้หายได้ทันเวลา

สาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

สาเหตุของการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ 

  1. เชื้อไวรัส ได้แก่ หูดหงอนไก่ (Papilloma Virus หรือ HPV), เริม (Herpes Simplex), เอดส์ (HIV) 
  2. เชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ซิฟิลิส (Syphilis), หนองในแท้ (Gonorrhea), หนองในเทียม (Chlamydia)
  3. เชื้ออื่น ๆ ได้แก่ พยาธิ (Trichomonas), เชื้อรา (Candida)

อาการแบบไหน เสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อาการของผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเป็นได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่มักพบอาการดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะแสบขัด
  • ตกขาวผิดปกติ เป็น ๆ หาย ๆ มีกลิ่น มีอาการคัน
  • มีตุ่ม ผื่น หรือแผล บริเวณอวัยวะเพศ
  • ขาหนีบบวม

5 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย ได้แก่

1. โรคหูดหงอนไก่

หูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัส หากมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงอาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงจะเกิดเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ บริเวณที่อุ่นหรืออับชื้น เช่น อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก หรือบริเวณง่ามขา

2. โรคซิฟิลิส

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Treponema Pallidum สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ อาการจะแตกต่างกันตามระยะของโรค ตั้งแต่มีแผลที่อวัยวะเพศ มีผื่นขึ้นตามลำตัว ตลอดจะไม่มีอาการเมื่อโรคเข้าสู่ระยะสงบ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเกิดการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ซึ่งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

3. โรคเริม

เกิดจากเชื้อไวรัส Herpe Simplex สามารถติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรค โดยผู้ที่เป็นโรคเริมจะมีตุ่มน้ำใสบริเวณริมฝีปาก อวัยวะเพศ ร่วมกับอาการปวดแสบ และคันบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก

4. โรคหนองในแท้

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae ซึ่งสามารถเติบโตในพื้นที่ที่มีความอุ่นและชื้น เช่น ปากมดลูก มดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก รวมทั้งบริเวณปากและลำคอ ผู้ชายจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองข้นไหลออกจากปลายท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงจะมีอาการตกขาวผิดปกติ ปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บแสบ โรคหนองในแท้สามารถติดจากแม่สู่ทารกระหว่างการคลอดได้

5. โรคไวรัสตับอักเสบบี

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยา แปรงสีฟัน มีดโกนร่วมกัน รวมทั้งสามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกขณะคลอดได้ โดยผู้ติดเชื้อจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

ใครเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
  • ผู้ที่ไม่สวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาหายขาดได้หรือไม่

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิดรักษาหายได้ แต่บางชนิดจะแฝงตัวในร่างกายตลอดชีวิตและสามารถกำเริบหรือเป็นซ้ำได้อีก ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้ออื่น ๆ สามารถรักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง

วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  2. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  3. ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
  4. ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสี่ยงโรค
  5. รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเปลี่ยนรักหวานชื่นกลายเป็นขมในชั่วข้ามคืน หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยง ไม่ควรเพิกเฉย ควรรีบพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างใกล้ชิด หรือคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง โดยใช้ชุดตรวจ HPV Test จาก WELALA เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างเชื้อ HPV DNA ในช่องคลอดตรวจง่ายและแม่นยำ แม่นยำ 99.6% เทียบเท่ากับไปตรวจที่โรงพยาบาล ช่วยให้สามารถป้องกันและรักษาเชื้อ HPV ได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งในอนาคต เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและคนที่คุณรัก

“มะเร็งปากมดลูก” ภัยมรณะใกล้ตัวคุณ และคนที่คุณรัก!

มะเร็งอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย

จากสถิติปี 2020 พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย โดยเฉลี่ยในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า 9,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 5,000 ราย หรือในแต่ละวัน ประเทศไทยจะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง 13 คน!

สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ HPV

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกือบ 100% นั้นเกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus

และมากกว่า 85% ของประชากร เคยติดเชื้อ HPV อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต!

จากสถิติพบว่า ในแต่ละปี จะมีประชากรทั่วโลกติดเชื้อ HPV มากกว่า 660,000,000 คน หรือเท่ากับว่า ในทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีคนถึง 75,000 คนทั่วโลกติดเชื้อ HPV

ไม่ว่าใครก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV เพราะ

เชื้อนี้แพร่ผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง, การจูบ, การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก รวมถึงทางปาก อีกทั้งยังสามารถแพร่ผ่านทางการใช้สิ่งของ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ร่วมกันได้

ซึ่งถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องมีคู่นอนหลายคนถึงจะติดเชื้อ HPV แต่คุณสามารถติดเชื้อติดเชื้อ HPV ได้ตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก!

HPV ทำให้เกิดโรค และมะเร็งได้ ทั้งหญิงและชาย

เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธ์ุ โดยเชื้อ HPV สายพันธ์ุที่ก่อโรคแบ่งได้เป็น

  1. สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ (Low-risk HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งก่อให้เกิดหูด
  2. สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง (High-risk HPV) โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่จะทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อ สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้สูง

 เชื้อ HPV เป็นสาเหตุของโรค และมะเร็งต่างๆ ดังนี้

90%

ของหูดหงอนไก่ หรือหูดบริเวณอวัยวะเพศ

70%

ของมะเร็งศีรษะและลำคอ
 

90%

ของมะเร็งทวารหนัก
 

70%

ของมะเร็งปากช่องคลอด
 

75%

ของมะเร็งช่องคลอด
 

60%

ของมะเร็งองคชาต
 

มะเร็งปากมดลูกมักไม่มีอาการ

หลังได้รับเชื้อ HPV เชื้อสามารถอยู่ในร่างกาย โดยไม่ก่อโรคใดๆ ได้นานถึง 10-30 ปี และมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะไม่มีอาการในระยะแรก อาจมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ และมีตกขาวผิดปกติได้

ในระยะหลัง อาจมีอาการที่เกิดจากการกดเบียดของก้อนมะเร็งเช่น ปวดท้องน้อย ขาบวม เป็นต้น

เราจะป้องกันการติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร?

การป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรค และมะเร็งจากเชื้อ HPV ได้สูงถึง 90-97% (ขึ้นกับชนิดของวัคซีน) โดยสามารถฉีดได้ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง รวมถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงอย่างสม่ำเสมอ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ 3 วิธีคือ

ชนิดการตรวจ
สิ่งที่ตรวจ
คำอธิบาย
Pap test (Pap smear)
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก (เซลล์ที่ผิดปกติ)
วิธีดั้งเดิม
HPV DNA test
เชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูง (ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง)
มีความไวสูงกว่า*
Co-testing
ตรวจทั้งคู่ (เชื้อ HPV ชนิดความเสี่ยงสูง และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณปากมดลูก)
มีความไวสูงกว่า*

*การศึกษา ATHENA ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการตรวจ Pap และ HPV DNA test ในสตรีมากกว่า 47,000 ราย พบว่าวิธีดังกล่าวมีความไวในการตรวจหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็งสูงกว่า

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการตรวจหาเชื้อ HPV (HPV DNA test) เป็นวิธีตรวจคัดกรองหลักในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีทั่วไป และสตรีที่ติดเชื้อ HIV และสมาคมโรคมะเร็งอเมริกันยังแนะนำการตรวจหาเชื้อ HPV (HPV DNA test) เป็นวิธีหลักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุระหว่าง 25-65 ปีด้วย

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีขั้นตอนอย่างไร?

โดยปกติ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ในสถานพยาบาล คลินิก หรือโรงพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่มักทำระหว่างการตรวจภายใน

ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียง และแยกขาออก จากนั้นแพทย์จะสอดเครื่องมือที่เรียกว่า speculum เข้าไปในช่องคลอด เพื่อใช้ถ่างขยายบริเวณส่วนบนของช่องคลอด และหาปากมดลูก ซึ่งช่วยให้แพทย์เก็บตัวอย่างเซลล์ และบริเวณโดยรอบปากมดลูกได้ 

ซึ่งหากตรวจโดยวิธี Pap test (Pap smear) จะต้องตรวจซ้ำทุกๆ 2 ปี แต่หากตรวจด้วยวิธี HPV DNA test ที่มีความไวสูงกว่า จะสามารถตรวจซ้ำแค่ทุกๆ 5 ปี

กลุ่มเสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก” ต้องระวังเป็นพิเศษ!

ใครหล่ะ? ที่เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นพิเศษบ้าง
  • ผู้ที่ไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน HPV
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอเช่น ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ผู้ที่มีบุตรหลายคน
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน

หากคุณเป็นกลุ่มเสี่ยง คุณควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจตรวจถี่ขึ้น เพื่อหาเชื้อ HPV ก่อนที่จะเซลล์ของคุณจะกลายเป็นมะเร็ง

ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้! ด้วยการตรวจหาเชื้อ HPV ด้วยตนเอง

ในปี 2021 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับป้องกันมะเร็งปากมดลูกใหม่ ซึ่งแนะนำการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ที่สามารถเก็บโดยผู้ให้บริการทางการแพทย์หรือตัวเองก็ได้

งานวิจัยบางฉบับพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการเก็บตัวอย่างด้วยตนเองนั้น มีความแม่นยำในการหาเชื้อ HPV (HPV DNA) เท่ากับการเก็บตัวอย่างโดยแพทย์จากการตรวจภายใน

HPV Vaccine

การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

ปัจจุบันนี้ ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกัน HPV 2 ชนิดคือ ชนิด 4 และ 9 สายพันธุ์ ซึ่งป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อโรคได้ครอบคลุมตามชื่อ

โดยพบว่าวัคซีนป้องกัน HPV ชนิดล่าสุด 9 สายพันธุ์นั้น สามารถป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV รวมถึงมะเร็งที่เกี่ยวข้องได้ถึง 97%

อ้างอิง